วิธีปลูกผักกาดกวางตุ้ง (Bok Choy)
ผักกาดกวางตุ้ง หรือ ผักกวางตุ้ง เป็นผักที่ใช้ใบในการบริโภค ต่างจากผักกาดขาวปลีตรงที่ไม่ห่อหัว ใบของผักชนิดนี้ยาวและแคบกว่า เห็นก้านใบชัดเจน ผักกาดกวางตุ้งที่ใช้ปลูกเป็นการค้ามีอยู่ ชนิด ด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดนี้มีต้นกำเนิดอยู่ทางประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- Brassica chinensis var. para-chinensis เป็นผักกาดเขียวกวางตุ้งที่มีสีเขียวที่ก้านใบ และก้านใบจะกลมหนา ใบมีลักษณะมนที่ปลายใบ ไม่มีการห่อหัว
- Ekassica chinensis var. chinensis เป็นผักกาดขาวกวางตุ้งที่มีก้านใบสีขาว แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ไม่ห่อหัว
- Ekassica chinensis var. rosularis เป็นผักกาดดอกที่มีลักษณะคล้ายกับผักกาดเขียวกวางตุ้ง แต่ต้นเล็กกว่า ออกดอกเร็วกว่า ดอกมีสีเหลือง นิยมรับประทานทั้งดอก
- Brassica chinensis var. utilis เป็นผักกาดพันธุ์พื้นเมืองของจีน ผักกาดพวกนี้สามารถนำเมล็ดไปสกัดเป็นน้ำมันเพื่อใช้ในการประกอบอาหารได้ และใช้เป็นน้ำมันจุดตะเกียงก็ได้
การเตรียมปลูกและการปลูกผักกาดกวางตุ้ง
ผักกาดกวางตุ้งนั้นขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างดี และมีความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 6-6.5 และต้องการความชื้นในดินอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาในการปลูก และต้องการแสดงแดดที่เต็มที่ตลอดทั้งวัน ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอยู่ที่ 20-25 องศาเซลเซียส
เนื่องจากผักกาดกวางตุ้งเป็นผักรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมดินเพื่อทำการปลูกสามารถทำได้เช่นเดียวกับการปลูกกะหล่ำ การปลูกผักชนิดนี้นิยมปลูกแบบหว่านกระจ่ายให้ทั่วแปลง หรืออาจโรยเป็นแถวๆ การหว่านกระจ่ายทั่วแปลงนั้นมักทำกับแปลงที่มีการขดคูน้ำรอบๆ เช่น แถบชานเมือง ส่วนการโรยเป็นแถวมักทำการปลูกกับพื้นที่ทำการเตรียมแปลงแบบผักไร่ ซึ่งการปลูกทั้งสองแบบนี้จะต้องเว้นระยะระหว่างต้นประมาณ 20-25 เซนติเมตร ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในปลูกแบบหว่านนั้นจะใช้อยู่ที่ 1-2 กิโลกรัม / ไร่ ส่วนการปลูกแบบโรยเป็นแถวจะใช้เมล็ดพันธุ์อยู่ที่ประมาณ 500-800 กรัม / ไร่ และจะเริ่มทำการถอนแยกได้เมื่อกล้ามีอายุได้ 20 วัน
การดูแลและการเก็บเกี่ยวผักกาดกวางตุ้ง
ในการดูแลรักษานั้น อย่างแรกเลยคือการให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับคะน้า เพราะส่วนที่จะรับประทานได้นั้นเหมือนกันคะน้าก็คือใบ ดังนั้นอัตราส่วนของปุ๋ยที่ควรใช้คือ 2:1:1 ปุ๋ยสูตรที่นิยมใช้ในการปลูกผักกาดกวางตุ้งคือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 30-50 กิโลกรัม / ไร่ และควรให้ปุ๋ยไนโตรเจนเสริม ในอัดรา 20-30 กิโลกรัม / ไร่ ปุ๋ยสูตรผสมควรให้เป็นปุ๋ยรองพื้นทั้งหมด ส่วนปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่แบบโรยข้าง โดยเริ่มใส่เมื่อผักอายุได้ 20 วัน และใส่หลังจากการทำการถอนแยกแล้ว ซึ่งเมื่อใส่ปุ๋ยลงไปก็ควรรดน้ำตามันทีและอย่าให้ปุ๋ยเกาะกับใบผักเป็นขาด เพราะอาจจะทำให้ใบผักนั้นเกิดเสียหายได้ และให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งเก็บเกี่ยว เพราะผักพวกนี้มีอายุสั้นและเจริญเติบโตได้เร็ว และควรพรวนดินหลังจากทำการถอนแยกด้วย
ส่วนการเก็บเกี่ยวนั้นจะสามารถทำได้เมื่อผักมีอายุได้ 35-45 วัน โดยการเก็บเกี่ยวนั้นควรใช้มีดคมๆ ตันที่บริเวณโคนต้น และแต่งใบนอกๆ ที่เสียออก ส่วนผลผลิตที่ได้ในการเก็บเกี่ยวนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5 ตัน / ไร่