คอนยัคคุ (Konnyaku) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียก “บุก” ชนิดหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น พืชชนิดนี้มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า “Elephant foot” เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ Araceae ในที่นี้จะขอใช้ชื่อที่เรียกในภาษาญี่ปุ่น คือ คอนยัคคุ เนื่องจากเป็นพืชที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างไปจากบุกทั่วไปที่เรารู้จักกันมานาน และมีแนวโน้มที่สามารถจะผลิตเพื่อการอุตสาหกรรมอาหารและยา เพื่อการส่งออก
อ่านเพิ่มเติมคลังเก็บหมวดหมู่: ผักประเภทกินราก
วิธีปลูกขมิ้นชัน (Turmeric)
ขมิ้นชัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติในสภาพพืชป่า มีข้อสันนิษฐานว่าเป็นพืชปลูกที่เกิดจากกระบวนการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติและมีโครโมโซม 3 ชุด ซึ่งเป็นหมันและมีการสืบทอดพันธุ์กันต่อมาโดยวิธีการคัดเลือกพันธุ์และขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศระหว่างขมิ้นชันสายพันธุ์ที่มีโครโมโซม 2 คู่ และ 4 คู่
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกขิง (Ginger)
ขิง เป็นพืชผักที่กำลังอยู่ในระยะที่ทำรายได้ให้แก่ชาวสวนชาวไร่ในประเทศไทยมาก ทั้งนี้ เพราะเรามีอุตสาหกรรมทำขิงดองส่งขายแก่ประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ขิงที่ปลูกได้นี้มีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด ประเทศไทยสามารถใช้พื้นที่ในการปลูกขิงได้ทุกภาค ภาคใต้ปลูกในจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ภาคเหนือปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกหัวไชเท้า หรือ ผักกาดหัว (Chinese radish)
หัวไชเท้า หรือ ผักกาดหัว เป็นพืชหัวที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ ซึ่งจัดว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากโดยเฉพาะในแถบเอเชีย ต้นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ทางฝั่งตะวันตกของจีนในเขตติดต่อกับอินเดีย เดิมเป็นพืชป่า ต่อมาได้รับการปรับปรุงให้มีรากอวบ ยาวและใช้เป็นผักสด และทำดองเค็มหรือต้มการที่หัวจะให้คุณภาพดีน่ารับประทานหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว หากทิ้งไว้นานเนื้อภายในหัวจะฟ่ามมีเส้นใยมาก และรากจะขยายใหญ่มาก ลักษณะของหัวซึ่งก็คือรากนั่นเอง จะแตกต่างออกไปตั้งแต่รูปทรงกลมยาว รูปกรวย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกเผือก (Taro or Dasheen)
เผือก เป็นพืชที่เราใช้หัวรับประทาน ส่วนของหัวนั้นคือลำต้นที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มนุษย์ใช้เผือกเป็นอาหารเนื่องจากหัวเผือกมีแป้งมาก และมีรสชาติดี คนจีนนำมาหั่นแล้วผัดเป็นกับข้าว ส่วนคนไทยนิยมนำเผือกมาทำเป็นขนมได้หลายชนิด เช่น ตะโก้ เผือกน้ำกะทิ เผือกกวน แกงบวด นอกจากนี้ เผือกยังใช้รับประทานให้อิ่มแทนข้าวได้เป็นอย่างดี เผือกสามารถขึ้นได้ดีในประเทศแถบร้อนและแถบอบอุ่นทั่วโลก ที่มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เป็นพืชล้มลุก หัวเผือกมีผิวสีแดงจนถึงดำ รูปร่างของหัวสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพแวดล้อมและพันธุ์ คือมีตั้งแต่กลมถึงยาว สีเนื้อภายในหัวเผือกอาจขาวหรือมีสีครีม และมีจุดม่วงๆ แต้มอยู่ทั่วไป
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกมันเทศ (Sweet potato)
มันเทศ มีลำต้นเลื้อยเป็นเถา มีความยาวอาจถึง 6 เมตร สีของเถาจะผันแปรได้ตั้งแต่เหลือง เขียว หรือม่วงแดง เถามีลักษณะกลมมากกว่าเหลี่ยม ใบของมันเทศอาจมีสีทอง สีเขียว และอมม่วง เถาจะเลื้อยไปตามผิวดิน และจะออกรากบริเวณข้อที่เลื้อยไปตามผิวดินทุกข้อ และรากนี้เองเมื่อเจริญอยู่ใต้ดินจะมีการสะสมอาหารโป่งออก ก็คือหัวมันเทศนั่นเอง มันเทศเป็นพืชตระกูลเดียวกับผักบุ้งเดิมมันเทศเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ คนพื้นเมืองมักเรียกว่า Camote or Kumara คนพื้นเมืองใช้มันเทศเป็นอาหาร เนื่องจากมันเทศเป็นพืชที่สะสมแป้งไว้ในหัวมาก และเก็บไว้ได้นาน และหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 3-4 เดือนก็ขุดหัวได้
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกมันฝรั่ง (Potato)
มันฝรั่ง เป็นพืชผักที่มีอายุปีเดียว มีถิ่นกำเนิดอยู่แถวอเมริกาใต้ ส่วนหัวที่ใช้บริโภคคือส่วนของลำต้นใต้ดิน บางครั้งมันฝรั่งถูกเรียกว่า Tris potato เนื่องจากว่าชาวไอริชได้นำเข้าไปในอเมริกา ราว ค.ศ. 1719 มันฝรั่งถูกนำไปปลูกทางภาคเหนือตามเทือกเขามาช้านาน เข้าใจว่าชาวจีนเป็นผู้นำเข้ามา มันฝรั่งถือว่าเป็นอาหารหลักอันดับ 1 ใน 5 ของพืชเศรษฐกิจของโลก มันฝรั่งเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศ ดังนั้น ในการออกดอกออกผลจึงคล้ายกัน แต่ดอกและผลของมันฝรั่งนำมารับประทานไม่ได้ และยังไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างหัวของมันฝรั่งเลย
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกถั่วพู (Winged Bean)
ถั่วพู เป็นผักที่รับประทานได้ทั้งฝักอ่อน ยอดอ่อน เมล็ดแก่ นำมาทำน้ำนมถั่วและน้ำเต้าหู้ รากของต้นถั่วพูสามารถสะสมอาหารกลายเป็นหัว เมื่อนำมาเชื่อมหรือต้ม จะมีรสหวานหอม น่ารับประทานมากกว่ามันสำปะหลัง เมล็ดที่แก่ใช้นำมาสกัดได้น้ำมัน 17% โปรตีน 34% ส่วนของต้นเหนือดินทั้งหมดนำมาใช้ทำอาหารสัตว์ พบว่าให้โปรตีน 25.5% หรืออาจปลูกและนำสัตว์เข้าไปกินในแปลงสดๆ ก็ได้ ในหลายท้องที่นิยมปลูกถั่วพูเป็นพืชบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารพวกไนโตรเจนในดิน หากใช้เป็นพืชหมุนเวียนกับการปลูกอ้อยพบว่า ผลผลิตของอ้อยเพิ่มขึ้นถึง 50% สามารถปลูกถั่วพูแซมกับมันสำปะหลัง กล้วย และผักชนิดอื่นๆ ในประเทศปาปัวนิวกินีนิยมปลูกกันมาก ในประเทศอินโดนีเซียนิยมปลูกถั่วพูตามคันนา แต่ในประเทศไทยเรายังไม่นิยม มักใช้ถั่วดำ การปลูกถั่วพูในการคลุมดินจะช่วยเป็นการอนุรักษ์ดิน คือ ป้องกันการชะล้างของผิวดิน (Soil erosion)
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกกระเทียม (Garlic)
กระเทียม เป็นผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารในลักษณะของเครื่องเทศที่ให้กลิ่นฉุนและมีรสเผ็ด อีกทั้งยังช่วยในการดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี อาหารไทยเกือบทุกชนิดนั้นล้วนแต่มีกระเทียมเป็นเครื่องปรุงเกือบทั้งสิ้น กระเทียมเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับหอมหัวใหญ่ แต่มีการสร้างหัวอยู่ใต้ดินที่แตกต่างกัน โดยจะสร้างหัวเป็นหัวเล็กๆ รวมกันอยู่ หัวเล็กๆ นี้เรียกว่า Clove และหัวเล็กๆ นี้ เมื่ออยู่รวมกันแล้วจะมีเหลือกมาหุ้มห่ออีกชั้นหนึ่ง แต่ละ Clove นี้จะสามารถนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ได้ และถือว่าเป็นผักเครื่องเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
อ่านเพิ่มเติมวิธีปลูกหอมแดง (Shallots)
หอมแดง มีโครงสร้างเป็นหัวอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกันกับหอมหัวใหญ่ แต่ว่ามีขนาดที่เล็กกว่า มีสีแดง กลิ่นฉุน นอกจากนั้นยังสามารถแตกตาข้างทำให้ได้หัวเล็กๆ เกาะติดอยู่ด้วยกันจำนวนมาก การเชื่อมติดจะติดอยู่ที่โคนลำต้น และหัวเล็กๆ นี้เองจะเป็นตัวขยายพันธุ์ต่อไป และเมื่อปลูกแล้วจะแตกเป็น 10 หัวเป็นอย่างมาก หอมแดงถูกนำมาใช้ในการบริโภคในลักษณะของพืชเครื่องแกงและผักชูรส อาจใช้เป็นผักแกล้มก็ได้เช่นกัน และเป็นที่นิยมมากในหมู่ประเทศแถบเอเชีย
อ่านเพิ่มเติม